สายรัดพลาสติกนั้นถูกใช้งานอย่างกว้างขวางในอุตสหกรรมบรรจุภัณฑ์

สายรัดพลาสติกนั้นถูกใช้งานอย่างกว้างขวางในอุตสหกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อมัดสิ่งของเข้าด้วยกับและยึดให้อยู่กับที่บนพาเลตสำหรับการขนส่ง ส่วนใหญ่แล้วจะผลิตจากพอลิพรอพิลีนหรือพอลิเอสเทอร์ พอลิเอสเทอร์นั้นแข็งแรงกว่าและถือได้ว่าเป็นทางเลือกทดแทนสายรัดเหล็กเนื่องจากไม่เกิดการกัดกร่อน (สนิม) และเปรอะเปื้อนผลิตภัณฑ์, น้ำหนักเบากว่า, ปลอดภัยกว่าและง่ายต่อการทำลายในขณะที่ยังมีความต้านทานแรงดึงสูงสุดเทียบเท่ากับโลหะ สายรัดพอลิเอสเทอร์นั้นยังทนทานต่อการเสื่อมสภาพจากรังสีอัลตราไวโอเลตและสามารถทนทานต่อการใช้งานในระหว่างการเก็บรักษาและการขนส่ง

เราได้รับการสอบถามจากผู้ผลิตสายรัดพลาสติกสำหรับคำแนะนำในการทดสอบแรงดึงของวัสดุดังกล่าวซึ่งเราต้องพบกับความท้าทายหลายประการ เทคนิคการจับยึดชิ้นงานนั้นจะต้องสามารถให้แรงจับยึดที่สม่ำเสมอดังนั้นการใช้อุปกรณ์แบบแมนนวล (ใช้มือในการขันแน่น) จึงไม่ถูกเลือกใช้งาน

ค่าของแรงที่จุดแตกหักนั้นคาดว่าจะมากกว่า 12 กิโลนิวตัน สำหรับแถบสายรัดขนาด 25 มม. ซึ่งค่านี้สูงกว่าค่าแรงที่อุปกรณ์จับยึดรุ่นมาตรฐานแบบ pneumatic (แรงดันลม) side acting grips จะทนทานได้ ดังนั้นอุปกรณ์จับยึดแบบ hydraulic (แรงดันน้ำมัน) grips จึงมักถูกเลือกใช้งานโดยอุตสาหกรรม แต่ลูกค้าของเราต้องการใช้งานอุปกรณ์จับยึดแบบแรงดันลมเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า

การทดสอบเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าพื้นผิวปากจับแบบสันนูนตามปรกติดนั้นไม่เหมาะต่อการใช้งานเนื่องจากทำให้แถบสายรัดเกิดการแยกตัวในแนวความยาวและเกิดการเสียหายก่อนเวลาอันควร เราพบว่าสามารถประสบความสำเร็จในการทดสอบด้วยการใช้เครื่องทดสอบรุ่น 5900 (เครื่องทดสอบรุ่น 3300 ก็สามารถใช้งานได้เช่นเดียวกัน) พร้อมอุปกรณ์จับยึดแบบ custom pneumatic side acting grip ขนาด 30 กิโลนิวตัน ที่มีพื้นผิวปากจับที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษสำหรับการทดสอบแถบสายรัด ผลการทดสอบที่ได้มีความต้องกันและการแตกหักที่ดีเกิดขึ้นใน 9 ใน 10 ชิ้นงานทดสอบดังแสดงในภาพ เราพบการแยกตัวในแนวความยาวของชิ้นงานที่ 3 แต่ไม่พบผลกระทบต่อผลการทดสอบ หมายเหตุ เส้นกราฟถูกเลื่อนออกด้านข้างเพื่อความชัดเจน