เทคโนโลยีการพิมพ์และการติดฉลากแบบใหม่

การขาดการสื่อสารที่ดีต่อกันที่จุดขายทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ผลิตสินค้ากับผู้บริโภคหยุดชะงักลง เช่น ผู้ผลิตขนมปังไม่สามารถแจ้งต่อผู้บริโภคได้ว่าขนมปังจะหมดอายุเมื่อใด ฉลากจึงได้เข้ามามีบทบาท เป็นสื่อกลางที่ให้ ความสัมพันธ์อันดีดำเนินต่อไป ฉลากสามารถบอกวันหมดอายุ ส่วนผสมคุณค่าทางโภชนาการและข้อมูลอื่นๆได้ ปัจจุบันประชาคมยุโรปและทั่วโลกได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับฉลากมาใช้กันอย่างมาก มายผู้ผลิตรายใหญ่ๆที่ผลิตสินค้าไม่กี่ชนิด มักจะไม่มีปัญหาในการพิมพ์วันหมดอายุ ชุดตัวเลข บาร์โค้ด เพราะสามารถพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ก่อนหรือหลังการบรรจุได้ แต่ผู้ผลิตรายเล็กที่มีสินค้าหลากหลาย

การพิมพ์ดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้นและเสี่ยง ต่อการนำ สินค้าบรรจุผิดกล่อง วิธีแก้ปัญหาและลดต้นทุนคือ การพิมพ์ฉลากสินค้า บนกระดาษและนำไปติดบนบรรจุภัณฑ์ ณ จุดสุดท้ายของการผลิต สมัยก่อนระบบการพิมพ์และติดฉลากไม่มีทางเลือกมากนัก ต้องใช้ น้ำหมึกและฟอยล์ที่ไวต่อความร้อนซึ่ง พิมพ์ได้ช้า จนกระทั่งได้มีการประดิษฐ์คิดค้นกรรมวิธีการพิมพ์ แบบเทอร์มัล ( thermal printing) ขึ้นมาใช้ โดยพัฒนาจากอุปกรณ์ทางทหาร ความร้อนจากหัวพิมพ์จะสัมผัสกับกระดาษที่เคลือบด้วยสารไวต่อความร้อนแล้ว เปลี่ยนสีขาวของ กระดาษไปเป็นสีเทาดำ ความกว้างของเส้นจะมีขนาด 1 มิลลิเมตร สามารถพิมพ์ตัวอักษร ตัวเลข และกราฟิก

ตลอดจนจุดเมตริกได้ แต่ฉลากแบบนี้เมื่อโดนแสงอัลตราไวโอเลตนานๆจะจางลง จึงได้นำฟอยล์มาใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้สามารถพิมพ์ฉลากได้ 2 สี โดยนำฟอยล์ 2 สี มาพิมพ์พร้อมกัน และความลื่นของฟอยล์เองก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานของหัวพิมพ์ได้อีกด้วย จากนั้นได้มีการพัฒนาให้เครื่องพิมพ์ฉลากแบบนี้สามารถพิมพ์ได้ ละเอียดมากถึง 12 จุดต่อ มม. จึงพิมพ์บาร์โค้ดเล็กๆได้โดยไม่มีปัญหา สิ่งที่สำคัญคือการแก้ปัญหาในการติดฉลาก เนื่องจากเครื่อง ติดฉลากมีความเร็ว 30 เมตร/นาที ส่วนการพิมพ์ฉลากมีความเร็วเพียง 125 มิลลิเมตร/วินาที ซึ่งเป็นสัดส่วน 4 ต่อ 1 จึงต้องสำรองฉลาก ที่พิมพ์ไว้แล้วในม้วนระหว่างหัวพิมพ์กับเครื่องติดฉลาก การพัฒนาเครื่องพิมพ์ และติดฉลากแบบนี้ได้คำนึงถึงความแม่นยำในการติดฉลาก